กรุณารอสักครู่...

บทความวิชาการ

ข้อมูลวิชาการที่เป็นประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการ การเจริญเติบโต และปัญหาทางพฤติกรรมของเด็ก และวัยรุ่นไทยในวัยต่างๆ

หยุดโรงเรียน ไม่หยุดการเรียนรู้:
คำแนะนำการใช้สื่อออนไลน์เพื่อการเรียนรู้ของเด็ก ในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19

หยุดโรงเรียน ไม่หยุดการเรียนรู้:
คำแนะนำการใช้สื่อออนไลน์เพื่อการเรียนรู้ของเด็ก
ในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19

ในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 ทำให้เด็กต้องหยุดเรียน และผู้ปกครองหลายครอบ ครัวต้องหยุดงานอยู่บ้านตามมาตรการ social distancing หรือ “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” ทำให้การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่อออนไลน์ในทุกกลุ่มอายุเพิ่มขึ้นอย่างมาก หลายโรงเรียนเตรียม จัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อออนไลน์ในช่วงที่มีการหยุดโรงเรียนด้วย ทำให้เกิดคำถามเกี่ยวกับ การพิจารณาการใช้สื่อออนไลน์สำหรับเด็กอย่างเหมาะสมในแต่ละช่วงวัย ทางชมรมพัฒนาการและ พฤติกรรมเด็กแห่งประเทศไทยจึงได้มีคำแนะนำการใช้สื่อออนไลน์เพื่อการเรียนรู้ของเด็กในสถานการณ์ การระบาดของโรคโควิด 19 โดยยึดหลัก 3 “C” ได้แก่ Child (เด็กแต่ละคน) Content (เนื้อหา ที่เหมาะสมตามวัย) และ Context (บริบทขณะที่เด็กใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์) ดังต่อไปนี้



เด็กเล็กอายุน้อยกว่า 6 ปี
1. ในเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี แนะนำให้ผู้ปกครองทำกิจกรรมที่มีปฏิสัมพันธ์กับเด็ก เช่น พูดคุย อ่านหนังสือ ร้องเพลง เดินเล่น แทนการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากมีผลดีต่อพัฒนาการของเด็ก เด็กวัยนี้สามารถเรียนรู้ได้ดีโดยผ่านประสบการณ์ในชีวิตจริงมากกว่าผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์มาก

2. ในเด็กก่อนวัยเรียนอายุ 2-5 ปี สามารถใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่อออนไลน์เพื่อการเรียน รู้ได้ สำหรับการใช้นอกเหนือจากเพื่อการเรียนรู้ แนะนำว่าไม่ควรใช้เกิน 1 ชั่วโมงต่อวัน และควรสลับ กับทำกิจกรรมอื่น เช่น วิ่งเล่น กิจกรรมศิลปะ ทำงานบ้าน หรือทำอาหาร การเล่นสมมติ การอ่าน หนังสือ เป็นต้น และควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของผู้ปกครอง เนื่องจากระดับพัฒนาการด้านความคิด ของเด็กยังไม่สามารถเข้าใจสิ่งต่าง ๆ ผ่านสื่อได้ทั้งหมด จึงจำเป็นต้องมีผู้ใหญ่ช่วยสรุป หรือให้ คำแนะนำเพิ่มเติม

3. หลักการเลือกสื่ออิเล็กทรอนิกส์สำหรับเด็กอายุ 2-5 ปี ควรเลือกสื่อที่มีปฏิสัมพันธ์กับเด็ก (interactive media โดยผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น smartphone และ tablet) มากกว่า สื่อที่เป็นการรับชมเพียงอย่างเดียว (one-way media เช่น ทีวี หรือ คลิปวีดีโอ) เพราะ interactive media จะสามารถดึงดูดความสนใจ และส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในด้านการเรียนรู้ได้ดีกว่า one-way media 2 หยุดโรงเรียน ไม่หยุดการเรียนรู้: คำแนะนำการใช้สื่อออนไลน์เพื่อการเรียนรู้ของเด็ก ในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19

4. ผู้ปกครองควรใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่อออนไลน์ในเชิงสร้างสรรค์ เช่น ยังสามารถให้ เด็ก ๆ ใช้สื่อออนไลน์เพื่อการติดต่อสื่อสารกับคนในครอบครัว คุณครู หรือเพื่อน ๆ ได้ เช่น การโทร VDO call เป็นต้น

5. ผู้ปกครองควรเป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่อออนไลน์ เช่น ไม่ใช้ อุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ระหว่างรับประทานอาหาร หรือก่อนเข้านอน ควรมีการกำหนดชั่วโมงที่ว่างจาก สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (media-free hour) เป็นต้น

เด็กวัยเรียน อายุ 6-12 ปี

1. ผู้ปกครองควรวางแผนกิจกรรมที่เด็กจะทำในแต่ละวัน โดยแผนกิจกรรมนี้อาจไม่สมบูรณ์ เหมือนกิจกรรมที่เด็กทำที่โรงเรียน แต่จะช่วยให้เด็กเรียนรู้ที่บ้านได้ดีขึ้น โดยควรสอดคล้องกับแผน การเรียนรู้ทางไกลของโรงเรียน และควรพูดคุยกับเด็กถึงแผนกิจกรรมนี้ ส่งเสริมให้เด็กปฏิบัติตาม แผนกิจกรรมนี้ด้วยตนเองโดยชมเชยเมื่อเด็กทำได้

2. การเรียนรู้ทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อออนไลน์ต้องทำควบคู่กับกิจกรรม หรือการฝึกปฏิบัติ การปล่อยให้เด็กนั่งเรียนทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อออนไลน์เป็นระยะเวลานานอาจทำให้เด็ก ไม่สามารถคงการมีสมาธิได้ ทำให้เรียนรู้ได้ไม่เต็มที่ ผู้ปกครองอาจแบ่งเนื้อหาเป็นช่วงสั้น ๆ สลับกับ ช่วงพัก

3. ผู้ปกครองควรสื่อสารกับครูเรื่องแผนการเรียนรู้ที่บ้าน ทั้งส่วนที่เป็นการเรียนรู้ทางสื่อ อิเล็กทรอนิกส์ และสื่อออนไลน์ และกิจกรรมการเรียนรู้อื่น ๆ โดยควรสื่อสารถึงข้อจำกัด เช่น อุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ และสัญญาณอินเทอร์เน็ต ซึ่งอาจเป็นข้อจำกัดในการเรียนรู้ของเด็กได้

4. ผู้ปกครองจำเป็นต้องรักษากิจวัตรประจำวันของเด็กอย่างสม่ำเสมอ เช่น เวลาตื่นและ เข้านอน เวลาอาหาร เวลาพัก ควรเป็นเวลาเดิมทุกวัน

5. มีช่วงเวลาให้เด็กได้มีกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกาย ช่วงพัก หรือหลังอาหารเที่ยงเช่นเดียวกับ ที่โรงเรียน

6. นอกจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่อออนไลน์เพื่อการเรียนรู้ของโรงเรียน ผู้ปกครองควร ตระหนัก ถึงคุณภาพของเนื้อหาของสื่ออื่น ๆ ที่เด็กใช้ที่บ้านด้วย ผู้ปกครองควรเลือกสื่อที่มีคุณภาพ และ เหมาะสมกับวัยของเด็ก โดยอาจพิจารณาเลือกจากเว็บไซต์ดังรายละเอียดท้ายคำแนะนำนี้

7. เด็กสามารถใช้สื่อสังคมออนไลน์ (social media) ภายใต้การดูแลของผู้ปกครองเพื่อประโยชน์ ในการติดต่อสื่อสารกับเพื่อนและครู เพื่อให้เด็กยังได้มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนและครูผ่านทาง social media หรือ VDO chatting

8. รักษาสมดุลของการใช้สื่อออนไลน์ และกิจกรรมอื่น ๆ ในบ้าน ผู้เลี้ยงดูควรหากิจกรรมอื่น นอกเหนือจากสื่อออนไลน์ทำร่วมกันกับเด็ก โดยควรเป็นกิจกรรมที่สามารถทำได้ทั้งครอบครัว เช่น การ เดินเล่นรอบบ้าน เกมกระดาน อ่านหนังสือ ต้นหรือเล่นบอลร่วมกันกับเด็ก โดยอาจดูตามความชอบ ของเด็กแต่ละคน

หยุดโรงเรียน ไม่หยุดการเรียนรู้: คำแนะนำการใช้สื่อออนไลน์เพื่อการเรียนรู้ของเด็ก ในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 3 สามารถดูตัวอย่างสื่อที่เหมาะสมตามวัยของเด็กได้ที่

https://pbskids.org/apps/
https://program.thaipbs.or.th/programs/kids
https://www.commonsensemedia.org

ตัวอย่าง Interactive educational applications สำหรับเด็ก
Telling time
https://apps.apple.com/th/app/interactive-telling-time/id482452233

Homer reading
https://apps.apple.com/th/app/homer-reading-learn-to-read/id601437586

Khan academy kids
https://apps.apple.com/th/app/khan-academy-kids/id1378467217

Play and learn science
https://apps.apple.com/th/app/play-and-learn-science/id1300256105

Family fun with plum (PBS kids)
https://apps.apple.com/th/app/outdoor-family-fun-with-plum/id1218401498

เอกสารอ้างอิง 1. American Academy of Pediatrics. Finding ways to keep children occupied during these challenging times. 2020. Available at: https://www.aap.org/en-us/about-the-aap/aap-pressroom/ Pages/AAP-Finding-Ways-to-Keep-Children-Occupied-During-These Challenging- Times-.aspx. Accessed April 20, 2020.
2. Department for Education of United Kingdom. Help primary school children continue their education during coronavirus (COVID-19). 2020. Available at: https://www.gov.uk/guidance/ help-primary-school-children-continue-their-education-during-coronaviruscovid-19. Accessed April 20, 2020.
3. Galetzka C. Commentary: Mobile and interactive media use by young children: the good, the bad, and the unknown. Front Psychol 2017;8:461.
4. Reich J, ed. Remote learning guidance from state education agencies during the COVID-19 pandemic: a first look. Cambridge, MA: Teaching systems lab; 2020. https:// edarxiv.org/437e2. Accessed April 20, 2020.
5. Wang F. Xie H. Wang Y. Hao Y. An J. Using touchscreen tablets to help young children learn to tell time. Front Psycho 2016; 7: 1800.
6. Xie H. Peng J. Qin M. Huang X. Tian F. Zhou Z. Can touchscreen devices be used to facilitate young children's learning? A meta-analysis of touchscreen learning effect. Front Psychol. 2018; 9: 2580.

Infographic.นี้แสดง ข้อสังเกตว่าเด็กคนไหนอาจมีความบกพร่องด้านการเขียนรวมทั้งวิธีการฝึกเด็กเหล่านี้ให้เขียนคล่องขึ้นด้วย

Download PDF File คลิกที่นี่