เกณฑ์พัฒนาการตามช่วงวัยของเด็กปฐมวัย
เกณฑ์พัฒนาการของเด็กปฐมวัยชุดนี้จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นเกณฑ์อ้างอิงเบื้องต้นสำหรับเด็กทั่วไป ว่าเด็กสามารถทำอะไรได้ในแต่ละช่วงวัย ซึ่งยังอาจมีทักษะบางอย่างที่เด็กปกติจำนวนหนึ่งทำได้เร็วหรือช้ากว่าเกณฑ์นี้เล็กน้อย เกณฑ์พัฒนาการของเด็กปฐมวัยชุดนี้จึงไม่ใช่เครื่องมือที่ใช้ในการวินิจฉัยปัญหาด้านพัฒนาการของเด็ก
อายุ | พัฒนาการ |
1 เดือน |
(GM) ยกคางจากที่นอนชั่วครู่ในท่านอนคว่ำ (FM) มองตามวัตถุได้ถึงกึ่งกลางลำตัว (PS) จ้องหน้า (L) EL: ร้องไห้ RL: ตอบสนองต่อเสียงที่ได้ยินโดยการสะดุ้งหรือเบิ่งตามอง |
2 เดือน |
(GM) ชันคอ 45 องศาในท่านอนคว่ำ (FM) มองตามวัตถุได้ข้ามผ่านกึ่งกลางลำตัว (PS) ยิ้มและสบตา (L) EL: ส่งเสียงในลำคอเช่น อู อา RL: ตอบสนองต่อเสียงที่ได้ยินโดยการกระพริบตา หรือเงียบเพื่อฟังเสียงที่ได้ยิน |
4 เดือน |
(GM) ท่านอนคว่ำอกพ้นพื้น พยุงลำตัวด้วยแขนท่อนล่าง ท่านั่งชันคอได้ดี พลิกคว่ำหรือพลิกหงาย (FM) มองตามวัตถุจากด้านหนึ่งของลำตัวไปถึงอีกด้านหนึ่ง (180 องศา), ไขว่คว้าของใกล้ตัว (PS) ตื่นเต้นดีใจอย่างชัดเจนเมื่อเห็นนมแม่หรือขวดนม (L) EL: ส่งเสียง อู อา โต้ตอบเมื่อมีคนคุยด้วย หัวเราะ RL: หันหาเสียง |
6 เดือน |
(GM) ดึงขึ้นนั่งศีรษะไม่ห้อย พลิกคว่ำและพลิกหงาย ท่านอนคว่ำยกอกและท้องส่วนบนพยุงลำตัวด้วยฝ่ามือ นั่งได้โดยใช้มือยันพื้น (FM) หยิบของด้วยฝ่ามือ (PS) หัวเราะเมื่อถูกเอาผ้าคลุมศีรษะออก เริ่มติดแม่ (L) EL: เล่นหรือเลียนเสียง ได้แก่ เลียนเสียงจุ๊ปาก เดาะลิ้น ส่งเสียงที่ใช้อวัยวะในปากเพื่อให้เกิดเสียงพยัญชนะ ได้แก่ ปาปา ดาดา RL: หันหาเสียงเรียกชื่อ |
7-8 เดือน |
(GM) นั่งทรงตัวได้เองโดยไม่ต้องช่วยพยุง (FM) มองตามของตก เปลี่ยนมือถือของ ใช้มือถือก้อนไม่ข้างละก้อน (PS) สนุกกับการเล่นเมื่อเอาผ้าคลุมศีรษะออก (L) EL: ทำเสียงพยางค์เดียวเช่น จ๊ะ หม่ำ RL: มองตามสิ่งที่ผู้เลี้ยงดูชี้ |
9-10 เดือน |
(GM) ลุกนั่งจากท่านอน คลาน เหนี่ยวตัวขึ้นยืน เกาะยืน (FM) ใช้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือหยิบของ (PS) เล่นจ๊ะเอ๋ โบกมือบ๊าย-บาย (L) EL: เลียนเสียงพูดคุย เรียก “พ่อ” และ “แม่” แต่ยังไม่เฉพาะเจาะจง RL: เริ่มทำตามคำสั่งง่ายๆได้ เช่น โบกมือบ๊ายบาย หยุดการกระทำเมื่อได้ยินคำว่า “ไม่” |
11-12 เดือน |
(GM) ยืนได้เองชั่วครู่หรือตั้งไข่ จูงเดิน (FM) ปล่อยของเมื่อขอ (PS) เลียนแบบท่าทาง (L) EL: ส่งเสียงที่เป็นเสียงริมฝีปากแบบมีเสียงสูงเสียงต่ำ เริ่มเรียกชื่อคนใกล้ชิดที่คุ้นเคย เรียก “พ่อ” และ “แม่” แบบเฉพาะเจาะจงได้ RL: เริ่มเข้าใจความหมายของคำพยางค์เดียว ตอบสนองต่อคำถามง่ายๆได้ เช่น “แม่อยู่ไหน” “ลูกบอลอยู่ไหน” |
13-15 เดือน |
(GM) เดินได้เอง (FM) หยิบจับดินสอขีดเขียน (PS) ใช้ท่าทางหรือชี้บอกความต้องการ เริ่มชี้หรือทำท่าแสดงบอกถึงสิ่งที่ตนเองสนใจ (L) EL: พูดคำที่มีความหมายได้ 1-3 คำ ซึ่งเป็นคำที่เพิ่มเติมจากคำที่ใช้เรียกคนคุ้นเคยหรือสัตว์เลี้ยงในบ้าน RL: ชี้อวัยวะได้ 1 ส่วน |
16-18 เดือน |
(GM) เกาะราวหรือจูงมือเดินขึ้นบันได นั่งบนเก้าอี้เล็กได้มั่นคง (FM) ต่อสิ่งของในแนวตั้งได้ 2-3 ชั้น, ขีดเส้นยุ่งๆไปมา (PS) รู้จักปฏิเสธ หยิบอาหารป้อนตัวเองได้ (L) EL: พูดคำที่มีความหมายเพื่อแสดงความต้องการได้หลายคำ มีคำพูดรวมโดยเฉลี่ย 10-20 คำ RL: ชี้อวัยวะได้อย่างน้อย 3 ส่วน (ได้แก่ ตา จมูก ปาก) เข้าใจความหมายของคำประมาณ 50 คำ รู้จักชื่อสัตว์ สิ่งของ ทำตามคำสั่งขั้นตอนเดียวได้ เช่น หยิบบอลให้หน่อย เป็นต้น |
19-24 เดือน |
(GM) เดินถอยหลัง วิ่ง เตะบอล เดินขึ้นบันไดโดยก้าวเท้าตาม (FM) ต่อสิ่งของในแนวตั้งได้ 5-6 ชิ้น เริ่มเปิดหน้าหนังสือได้ทีละหน้า (PS) ใช้ช้อนตักอาหารกินได้ (L) EL: พูดได้ประมาณ 50 คำ เริ่มพูดคำที่มีความหมายสองคำติดกัน เช่น กินข้าว แม่อุ้ม RL: ชี้ไปยังสิ่งของหรือรูปภาพตามที่บอกได้อย่างหลากหลาย ชี้อวัยวะได้อย่างน้อย 6 ส่วน |
25-30 เดือน |
(GM) กระโดดสองเท้า เดินเขย่งเท้า (FM) ขีดเส้นตรง ในแนวตั้งหรือแนวนอน, ขีดเขียนเป็นเส้นวนๆ (PS) เล่นเลียนแบบ และเล่นสมมติง่ายๆ (L) EL: พูดเป็นวลี 2-3 คำ หรือเป็นประโยคสั้นๆ มีจำนวนคำศัพท์รวมประมาณ 200 คำ RL: ทำตามคำสั่งสองขั้นตอนได้ สามารถติดตามฟังเรื่องเล่าสั้นๆได้ |
31-36 เดือน |
(GM) ยืนขาเดียว 2-3 วินาที ขี่จักรยาน 3 ล้อ ขึ้นบันไดเองสลับเท้า ลงบันไดโดยก้าวเท้าตาม (FM) ต่อสิ่งของในแนวตั้งได้ 8 ชิ้นหรือมากกว่า. เลียนแบบการวาดรูปวงกลม (PS) เล่นสมมติที่ซับซ้อนขึ้น เล่นกับเด็กอื่น (L) EL: เริ่มเล่าเรื่องได้ฟังเข้าใจแต่อาจไม่ทั้งหมด บอกเวลาต้องการขับถ่าย บอกชื่อตนเอง เพศ อายุ RL: รู้จักสีอย่างน้อย 1-2 สี, เข้าใจคำกริยาที่แสดงการกระทำ ได้แก่ หมากำลังวิ่ง เด็กกำลังกิน, เข้าใจคำคุณศัพท์ ได้แก่ ร้อน เย็น เหนื่อย, เข้าใจคำบุพบทง่ายๆ ได้แก่ บน ใน |
37-48 เดือน |
(GM) กระโดดขาเดียว ลงบันไดสลับเท้า (FM) วาดรูปวงกลมตามแบบ, วาดเส้นสองเส้นตัดกันตามแบบ (+), ต่อแท่งไม้ 3 ชิ้นเป็นสะพาน (PS) เล่นเกมที่มีกติกาง่ายๆกับคนอื่นได้ รู้จักรอคอย (L) EL: พูดเล่าเรื่องเป็นประโยคยาวๆให้คนอื่นเข้าใจได้ บอกสีได้หลายสี นับของทีละชิ้นได้อย่างถูกต้องเรียงตามลำดับของการนับ รวมประมาณ 5-10 ชิ้น RL: เข้าใจประโยคคำถามที่ซับซ้อนมากขึ้น ได้แก่ อย่างไร ทำไม, เข้าใจคำสั่ง 3 ขั้นตอน, เข้าใจจำนวน “ หนึ่ง” และ “หลายๆ” ได้แก่ หยิบของ 1 ชิ้น หรือหลายๆชิ้นได้ถูกต้อง, เข้าใจคำบุพบทเพิ่มเติม ได้แก่ ด้านหน้า ด้านข้าง ใต้ |
49-60 เดือน |
(GM) กระโดดสลับเท้า กระโดดขาเดียว กระโดดข้ามสิ่งกีดขวางเตี้ยๆ เดินต่อเท้าเป็นเส้นตรง (tandem gait) (FM) วาดรูปสี่เหลี่ยมตามแบบ, วาดรูปคนที่มีอวัยวะ 3 ส่วนหรือมากกว่า, เริ่มใช้กรรไกรตัดกระดาษ (PS) ใส่กางเกง และใส่เสื้อยืดสวมหัวเองได้ (L) EL: คำพูดชัดเจนฟังเข้าใจทั้งหมด, รู้จักถามความหมายของคำหรือวลีที่ไม่เข้าใจ, เริ่มรู้จักถามคำถาม “อย่างไร” หรือ “ทำไม” ได้, บอกชื่อพยัญชนะไทยที่พบบ่อยบางตัวได้ ได้แก่ ก.ไก่ ง.งู, ร้องเพลงสั้นๆ หรือท่องอาขยานที่ได้ยินบ่อยๆได้, รู้จักจำนวนนับ 1-5 บอกได้อย่างถูกต้องหลังจากนับว่ามีของรวมทั้งหมด 4 ชิ้น หรือ 5 ชิ้น RL: เข้าใจคำถาม “เมื่อไร” เริ่มเข้าใจซ้าย-ขวา เข้าใจขนาดเล็ก-ใหญ่ ยาว-สั้น |
61-72 เดือน |
(GM) เดินบนส้นเท้า เดินต่อเท้าถอยหลัง รับลูกบอลโดยใช้สองมือ กระโดดไกล 120 เซนติเมตร (FM) วาดรูปสามเหลี่ยม, วาดรูปคนที่มีอวัยวะ 6 ส่วนหรือมากกว่า, เลียนแบบการเขียนพยัญชนะง่ายๆบางตัวได้ (PS) แต่งตัว แปรงฟัน และเตรียมอาหารง่ายๆได้เองโดยไม่ต้องช่วย (L) EL: อธิบายความหมายของคำในชีวิตประจำวันได้ ได้แก่ ลูกบอล บ้าน, บอกความแตกต่างของสิ่งของ 2 สิ่งได้, รู้จักจำนวนนับ 1-10 บอกได้จำนวนนับรวมทั้งหมดได้อย่างถูกต้อง, บอกชื่อพยัญชนะไทยส่วนใหญ่ได้ถูกต้อง แม้ไม่มีรูปภาพประกอบ ได้แก่ บอกได้ว่า “ก” ชื่อ ก.ไก่ RL: เข้าใจเรื่องขำขันของเด็กๆ, เข้าใจลำดับของเหตุการณ์ ได้แก่ เรื่องในอดีต ปัจจุบัน, เข้าใจว่าตัวพยัญชนะไทยแต่ละตัวมีเสียง ได้แก่ ตัว ก มีเสียง กอ ตัว ท และ ธ มีเสียงเดียวกันคือ ทอ, เข้าใจสัญลักษณ์ตัวเลขว่ามีค่าเป็นจำนวนต่างๆ 1-10 |
หมายเหตุ |
GM หมายถึง gross motor, FM หมายถึง fine motor, PS หมายถึง personal social, L หมายถึง language, RL หมายถึง receptive language, EL หมายถึง expressive language |
Reference
1. นิตยา คชภักดี. พัฒนาการเด็ก. ใน: นิชรา เรืองดารกานนท์, ชาครียา ธีรเนตร, รวิวรรณ รุ่งไพรวัลย์, ทิพวรรณ หรรษคุณาชัย, นิตยา คชภักดี, บรรณาธิการ. ตำราพัฒนาการและพฤติกรรม. กรุงเทพมหานคร: บริษัท โฮลิสติก พับลิชชิ่ง จำกัด; 2551. หน้า 360-94.
2. จริยา จุฑาภิสิทธิ์ และ สุรีย์ลักษณ์ สุจริตพงศ์. พัฒนาการปกติ. ใน : ทิพวรรณ หรรษคุณาชัย, รวิวรรณ รุ่งไพรวัลย์, สุรีย์ลักษณ์ สุจริตพงศ์, วีระศักดิ์ ชลไชยะ บรรณาธิการ. ตำราพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก เล่ม 3 การดูแลเด็กสุขภาพดี. กรุงเทพฯ: บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์; 2556. หน้า 39-52.
3. Illingworth RS. The development of the infant and young child; normal and abnormal 9thed. Singapore: Longman Singapore Publisher. 1987.
4. Dixon SD. Two years: Language leaps. In: Dixon SD, Stein MT. Eds. Encounters with children: Pediatric behavior and development, 4th. Philadelphia: Mosby-Elseiver; 2006. P.383-407.
5. WHO Multicenter Growth Reference Study. WHO Motor Development Study: windows of achievement for six gross motor development milestones. Acta Paediatr Suppl 2006 ;450:86-95
6. Feldman HM, Messick C. Assessment of language and speech. In: Wolraich ML, Drotar DD, Dworkin PH, Perrin EC, editors. Developmental-Behavioral Pediatrics: evidence and practice. 1st ed. Philadelphia: Mosby-Elsevier; 2008. p. 177-90.
7. Bright futures guidelines for health supervision of infants, children, and adolescents. 3rd ed. Hagan Jr. JF, Shaw JS, Duncan P, editors. Elk Grove Village, IL: American Academy of Pediatrics; 2008.
8. Kimmel S, Ratliff-Schaub K. Growth and Development. In: Rakel R, Rake D, editors. Textbook of Family Medicine. 8 ed. Texas: Elsevier; 2011. p. 435
9. McQuiston S, Kloczko N. Speech and language development: monitoring process and problems. Pediatr Rev 2011; 32 (6): 230-38.
10. Gerber RJ, Wilks T, Erdie-Lalena C. Developmental milestones 3: social-emotional development. Pediatr Rev 2011;32:533-6.
Download PDF File คลิกที่นี่
ร่วมกับ ชมรมพัฒนาการและ พฤติกรรมเด็กแห่งประเทศไทย พ.ศ.2556
วันพุุธที่ 5 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 22:00 น. —