กรุณารอสักครู่...

บทความวิชาการ

ข้อมูลวิชาการที่เป็นประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการ การเจริญเติบโต และปัญหาทางพฤติกรรมของเด็ก และวัยรุ่นไทยในวัยต่างๆ

การเล่นที่เหมาะสมในเด็กแต่ละวัย เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคมและการช่วยเหลือตนเอง


“การเล่น” เป็นงานอย่างหนึ่งของเด็กทุกคน และมีความสำคัญต่อการส่งเสริมพัฒนาการให้เหมาะสมกับเด็กในแต่ละวัย อีกทั้งยังส่งเสริมให้เด็กมีจินตนาการ และมีปฏิสัมพันธ์ในสังคมอย่างเหมาะสม ซึ่งหากผู้ปกครองร่วมเล่นกับเด็กด้วยจะยิ่งเพิ่มความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน และถือเป็นช่วงเวลาที่มีคุณภาพของเด็กและครอบครัวอีกด้วย

การเล่นที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กในแต่ละวัย

อายุ พัฒนาการด้านสังคม ตัวอย่างการเล่น

0 - 6
เดือน

- สร้างสายสัมพันธ์กับผู้เลี้ยง
- ยิ้มให้ผู้เลี้ยง
- ทำเสียง อือ อา โต้ตอบกับผู้เลี้ยง
- เริ่มรับรู้และสนใจเด็กคนอื่น

- สบตา ยิ้ม พูดหรือร้องเพลงเป็นจังหวะด้วยเสียงสูงๆต่ำๆ
- อุ้มเด็กไว้กับอก พร้อมกับโยกตัวช้าๆตามจังหวะเพลง
- จับแขนหรือขาเด็กอย่างนุ่มนวล เพื่อขยับตามจังหวะ
- อ่านหนังสือภาพปกแข็ง โดยใช้เสียงที่สนุกสนาน



6 – 12
เดือน

- เริ่มสนใจเด็กคนอื่นที่มาเล่นด้วย
- แสดงความรู้สึกตนเองและ
ตอบสนองต่อความรู้สึกของเพื่อน
- เริ่มมีความสนใจร่วมเล่นกับผู้อื่น
- หันหาเสียงเมื่อถูกเรียกชื่อ

- เล่น ตบมือ ส่งจูบ บ๊ายบาย จ๊ะเอ๋
- อ่านนิทานเกี่ยวกับสิ่งที่พบในชีวิตประจำวัน
- พูดคุยกับเด็ก พร้อมกับชี้ชวนให้เด็กดูสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัว
- ใช้ของเล่นที่มีปุ่มกดแล้วมีเสียง เช่น กล่องดนตรี โทรศัพท์



12 – 24
เดือน

- มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนยาวนานมากขึ้น
และมีความซับซ้อนมากขึ้นด้วย
- นั่งเล่นข้างเพื่อน โดนเล่นของเล่นชนิดเดียวกัน
- รับรู้ตนเองมากขึ้น เช่น รู้ว่าตนเองคือคนในกระจก
รวมทั้งแสดงความเห็นใจผู้อื่น
- ชี้บอกความต้องการของตนเอง
และชี้ชวนให้ผู้อื่นมองตามสิ่งที่ตนเองสนใจ
- นำของเล่นมาชวนเล่น และเล่นสมมุติง่ายๆ

- เล่นเกมซ่อนหาของเล่น
- เล่นบทบาทสมมุติง่ายๆ เช่น ป้อนข้าว อาบน้ำแต่งตัวตุ๊กตา
- ร้องเพลง หรือเล่นเกมที่เนื้อร้องมีเสียงสัมผัสสระหรืออักษร
- อ่านนิทานให้ฟัง
- ประดิษฐ์สมุดภาพครอบครัว
- ช่วยงานหรือเล่นเลียนแบบงานง่ายๆ เช่น ทำความสะอาด ทำอาหาร
- สำรวจสิ่งแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติรอบๆบ้าน



3 ปี

- ร่วมเล่นกับผู้อื่นตามกติกา ผลัดกันเล่น
และมีเป้าหมายร่วมกัน
- เล่นสมมุติที่มีความแฟนซี และจินตนาการ
- การเล่นบทบาทสมมุติมีความซับซ้อน
สามารถใช้อุปการณ์คล้ายของ
จริงน้อยลงเพื่อแทนสิ่งนั้น

- ให้ร่วมเล่นกับเพื่อนๆ เพื่อเรียนรู้ที่จะรับฟังผู้อื่น ผลัดกันเล่น และรู้จักการแบ่งปัน
- ส่งเสริมการใช้ภาษาผ่านการทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น อ่านหนังสือ งานศิลปะ การทดลองง่ายๆทางวิทยาศาสตร์
- ส่งเสริมความเชื่อมั่นในตนเอง โดยปล่อยให้ถอดเสื้อผ้าและแต่งตัวเอง
- ส่งเสริมกิจกรรมที่มีการเรียนรู้ตัวอักษร การเขียน และการนับคำนวณ



4 ปี

- ร่วมเล่นกับเพื่อนกลุ่มใหญ่มากขึ้น
- เข้าใจและคาดเดาความคิดผู้อื่น
- แยกระหว่างความจริงและจิตนาการได้
- เล่นบทบาทสมมุติเป็นเรื่องราวที่มีความซับซ้อน
และมีจินตนาการมากยิ่งขึ้น

- ส่งเสริมการเล่นสมมุติที่แสดงออกถึงจินตนาการของเด็ก
- พาออกไปเล่นในสนามเด็กเล่น หรือสนามในหมู่บ้าน
- ส่งเสริมการเล่นที่มีการจัดกลุ่ม เช่น จัดตามสี ขนาด รูปร่าง
- ส่งเสริมให้เล่าเรื่องถึงสิ่งต่างๆที่เด็กมีส่วนร่วม โดยอาจให้วาดรูปเพื่อประกอบการเล่าเรื่องด้วย



5 ปี

- เรียนรู้ทักษะทางสังคมต่างๆตามแบบผู้ใหญ่
- การเล่นมีจินตนาการมากขึ้น และชอบที่จะแต่งกายแสดงออกถึงจินตนาการนั้นๆ

- เล่นบทบาทสมมุติที่มีการใช้วัสดุต่างๆมาประยุกต์
เพื่อใช้เป็นเครื่องแต่งกายตามบทบาทที่จินตนาการ
- เล่นเกมกระดาน
- ให้ช่วยงานบ้านต่างๆ เช่น ช่วยทำอาหาร รดน้ำต้นไม้
- สงเสริมการอ่านหนังสือ เล่นดนตรี เกมกีฬาง่ายๆ




การเล่นที่เหมาะสมสำหรับเด็กพิเศษ
การเล่นมีความจำเป็นสำหรับเด็กทุกคน รวมทั้งเด็กที่มีข้อจำกัดทางพัฒนาการบางประการเช่นกัน ซึ่งหากเข้าใจข้อจำกัดเหล่านั้น และช่วยจัดการเล่นที่เหมาะสมกับเด็กแต่ละกลุ่ม จะทำให้การเล่นกับเด็กเหล่านี้เป็นการช่วยสร้างโอกาสให้เด็กอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข และมีปฏิสัมพันธ์ในสังคมทัดเทียมกับเด็กปกติอื่นๆได้

กลุ่มเด็กพิเศษ ลักษณะที่แตกต่างจากเด็กปกติ คำแนะนำในการเล่นที่เหมาะสม

พิการทางสายตา

- มักเล่นลำพังคนเดียว
- ขาดจินตนาการในการเล่น
- ขาดความหลากหลาย และความยืดหยุ่นในการเล่น
- ไม่สามารถรับทราบสถานที่เล่น
ผู้ร่วมเล่น และสิ่งของที่ใช้เล่น
ได้อย่างเป็นรูปธรรม



- วางแผนก่อนการเล่น
โดยอธิบายให้เด็กทราบรายละเอียดของสถานที่เล่น เครื่องเล่น กิจกรรมที่จะเล่น รวมทั้งลักษณะของเพื่อนที่มาเล่นด้วย
- ให้เวลาแก่เด็กเพื่อสำรวจสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัว
- ส่งเสริมการเล่นบทบาทสมมุติ โดยเริ่มจากการใช้วัตถุที่คุ้นเคย และบทบาทในชีวิตประจำวัน หลังจากนั้นจึงเพิ่มบทบาทที่ซับซ้อนและเป็นนามธรรมมากขึ้น
- จัดหาวัสดุที่ใช้ในชีวิตประจำวันประกอบการเล่น
- จัดสถานที่เล่นให้มีรูปแบบ และพื้นผิวสัมผัสที่หลากหลาย



พิการทางการได้ยิน

- มักไม่เข้าร่วมเล่นบทบาทสมมุติ
กับเพื่อนๆ
- มักไม่ใช้สิ่งอื่นเพื่อใช้เล่นแทน
ของจริง

- จัดหารูปภาพ บัตรคำ เพื่อประกอบการอธิบายกติกาในการเล่น และเพื่อการสื่อสารระหว่างการเล่น
- กำหนดภาษาสัญลักษณ์ระหว่างการเล่น
- อาจเขียนบันทึกเตือนความจำให้เด็กนำกลับบ้าน เพื่อส่งเสริมให้เด็กใช้ภาษาในการสื่อสาร



พิการทางสติปัญญา

- มักสนใจลักษณะภายนอกของ
วัตถุที่เล่น มากกว่าวิธีการเล่น
หรือประโยชน์ของวัตถุแต่ละชิ้น
- มีวิธีการเล่นซ้ำๆ ขาดความหลากหลายในการเล่น

- สร้างโอกาสให้เด็กมีประสบการณ์ในการเล่นที่หลากหลาย เช่นให้เด็กเล่นกับเด็กที่ปกติอื่นๆ สร้างกิจกรรมการเล่นที่แตกต่างกัน รวมทั้งแสดงวิธีการเล่นสิ่งของต่างๆให้เด็กดูในเบื้องต้น


ออทิสติก

- มักนั่งเล่นเพียงลำพัง
โดยไม่สนใจเพื่อน
- มักเล่นของเล่นซ้ำๆ หมกมุ่นกับ
ของเล่นบางอย่าง หรือเล่นเฉพาะชิ้น
ส่วนประกอบของวัตถุ
- มักไม่เล่นสมมุติ หรือใช้วัตถุเพื่อ
เล่นแทนสิ่งหนึ่งสิ่งใดไม่ได้



- ส่งเสริมการเล่นกับเพื่อนๆ โดยเน้นการสร้างให้เด็กมีความสนใจสิ่งที่เล่น รวมทั้งสนใจผู้เล่นคนอื่นๆ
- ส่งเสริมการเล่นสมมุติ โดยใช้วัตถุต่างๆแทนของเล่น รวมทั้งการเล่นบทบาทสมมุติง่ายๆ เช่น เรื่องราวที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวัน โดยใช้คำพูดหรือบทสนทนาเพื่อสื่อสารกับเด็กระหว่างการเล่น
     


เอกสารอ้างอิง
1. Keenan T. An introduction to child development. London:SAGE;2002.
2. Gerber R, Wilks T, Erdie-Lalena C.
Developmental milestones 3: social-emotional development.
Pediatrics in review 2011;32(12):533-536.
3. Fergus PH. Children, play, and development. 4th ed. California:SAGE;2010.
4. James EJ, James FC, Wardle F. Play, development, and early education.
United Stage of America:Pearson;2005.