เด็กพิเศษกับคนพิเศษ “คุณ” ก็เป็นคนพิเศษของเด็กพิเศษได้
Dr. Windy
เมื่อประมาณ 2 เดือนที่แล้ว หมอได้เขียนบทความเรื่องเด็กพิเศษกับคนพิเศษ เกี่ยวกับความประทับใจต่อคอนเสิร์ตของคุณเป๊ก ผลิตโชค ที่ให้โอกาสเด็กพิเศษมาร่วมแสดงในคอนเสิร์ตเดี่ยวครั้งแรกของเขา
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=2046307808926572&id=2046289082261778
หลังจากบทความนั้น หมอได้รับข้อมูลและความเห็นดีๆมากมาย จากผู้สนใจบทความ รวมถึงกลุ่มแฟนคลับของคุณผลิตโชคด้วย ต้องขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ
สิ่งที่ประทับใจหมอมากๆ คือข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมที่กลุ่มแฟนคลับของผลิตโชคทำให้เด็กพิเศษ เช่น การจัดแสดงภาพวาดโดยกลุ่มแฟนคลับนักวาดที่ใช้ชื่อว่า “เรือนช่างศิลป์” และนำเงินรายได้สมทบกองทุนผ่าตัดประสาทหูเทียม มูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวกในพระบรมราชินูปถัมภ์
https://twitter.com/palitfanart/status/993520570800095233
การทำของเล่นกระตุ้นพัฒนาการจากฝาขวดโออิชิให้เด็กพิเศษ เช่นเด็กออทิสติก และเด็กด้อยโอกาส โดยกลุ่ม #PFCจิตอาสา
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=2122211598015367&id=1510573409179192
https://www.mypalit.net/article/1081
หมอขอใช้โอกาสนี้ขอบคุณทุกท่านแทนเด็กพิเศษของเราด้วยค่ะ
ณ ตอนนี้ หมอเชื่อแล้วว่า หากคุณมีแรงบันดาลใจที่ดี มีความตั้งใจจริง คุณสามารถเป็นคนพิเศษสำหรับเด็กพิเศษได้ และยังช่วยให้สังคมของเราน่าอยู่ขึ้นได้
ถึงตรงนี้ อาจมีคนตั้งคำถามว่า ถ้าอยากเป็นคนพิเศษของเด็กพิเศษ ต้องทำอย่างไร
การที่เราอยากจะช่วยใคร เราควรจะต้องทำความรู้จักก่อน ว่าเขาเป็นใคร มีอะไรที่อยากให้เราช่วยบ้าง
VDO Clip นี้ ถูกทำขึ้นเพื่อแนะนำเด็กพิเศษให้ทุกคนได้รู้จัก รวมถึงคำแนะนำว่าเราควรจะปฏิบัติตัวอย่างไรกับเด็กพิเศษ
ชีวิตของเด็กพิเศษนั้น เป็นอย่างไร
ชีวิตของเด็กพิเศษนั้น มีความยากลำบากและท้าทายกว่าเด็กปกติมาก ทั้งในเรื่องการเดินทาง การเรียน แต่ปัจจุบันมีการรักษาและการช่วยเหลือต่างๆจากคนรอบข้าง ได้แก่ ผู้ปกครอง แพทย์ พยาบาล นักบำบัด และครู ที่สามารถช่วยให้เด็กก้าวข้ามอุปสรรคต่างๆไปได้ เป้าหมายหลักในการช่วยเหลือเด็กพิเศษก็คือ ทำให้เค้าสามารถใช้ชีวิตอย่างเป็นอิสระ โดยพึ่งพาคนอื่น ให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้
เราจะช่วยเด็กพิเศษได้อย่างไร
เด็กพิเศษ ก็เหมือนเด็กทั่วไป ที่ต้องการเพื่อน ต้องการมีสังคม ต้องการโอกาส และการยอมรับจากคนอื่นๆ แต่ความจริงที่น่าเศร้าก็คือ ความต้องการพื้นฐานเหล่านั้น กลับกลายเป็นเรื่องยากสำหรับเค้า เมื่อเด็กพิเศษของเราอยู่ในสังคม โดยเฉพาะเด็กที่มีลักษณะหรือพฤติกรรมที่อาจดูแปลกแตกต่างจากคนทั่วไป มักถูกมองด้วยสายตาแปลกๆ เช่น ความกลัว ความสงสาร หรือความสงสัยใครรู้ เด็กพิเศษที่อยู่ในโรงเรียนปกติ มักมีความเสียงที่จะถูกเด็กคนอื่นล้อเลียน ถูกแกล้ง หรือแม้แต่ถูกทิ้งให้โดดเดี่ยว
การช่วยเหลือเด็กพิเศษที่เรียบง่ายที่สุดในความคิดของหมอคือ การเป็นเพื่อนกับเค้า ตัวอย่างเช่น เด็กนักเรียนที่มีเด็กพิเศษในชั้นเรียน หรือในโรงเรียน สามารถช่วยเป็นหูเป็นตา แจ้งครูเมื่อเห็นเด็กพิเศษถูกรังแก หรือถูกล้อเลียนได้ ช่วยเปิดประตู ช่วยถือของ หรือชวนนั่งทานอาหารกลางวันด้วยกัน แต่การช่วยเหลือนั้น ไม่ควรมากเกินไป เพราะเด็กพิเศษเองก็อยากจะพึ่งพาตัวเองเท่าที่ทำได้
คนในสังคมสามารถช่วยเหลือเด็กพิเศษได้ง่ายๆ เพียงแค่ปฏิบัติต่อเค้าอย่างให้เกียรติและเป็นมิตร ให้ความช่วยเหลือเมื่อจำเป็นหรือเมื่อถูกร้องขอ เช่น การช่วยถือของ เปิดประตู ข้ามถนน ขึ้นรถสาธารณะ เป็นต้น
แต่หากเรามีกำลังกาย กำลังทรัพย์ที่สามารถแบ่งปัน หรือมีกลุ่มคนที่มีจิตอาสาเหมือนกันรวมตัวกันทำประโยชน์แก่เด็กพิเศษได้อย่างเป็นรูปธรรม ก็จะยิ่งเป็นสิ่งที่ดีต่อเด็กพิเศษและต่อสังคมของเรา ดังตัวอย่างที่กลุ่มแฟนคลับของผลิตโชคได้ทำให้เห็น
BE NICE, BE KIND, BE A FRIEND…
การเป็นคนพิเศษสำหรับเด็กพิเศษนั้น ไม่ได้ยากหรือซับซ้อนเลย เพียงแค่ให้เกียรติ ให้โอกาส และเป็นเพื่อนกับเขาเท่านั้นเอง
ท้ายสุดแล้ว หมออยากเห็นคนในสังคม เปิดใจ รับรู้ความมีตัวตนของเด็กพิเศษ ยอมรับเค้าในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง ในฐานะสมาชิกในสังคมเดียวกับเรา หากเราไม่รู้ว่าจะปฏิบัติตัวกับเด็กพิเศษอย่างไร ให้คิดว่า เราอยากให้คนอื่นปฏิบัติต่อเราอย่างไร ก็ปฏิบัติต่อเด็กพิเศษอย่างนั้น เท่านั้นเอง
ขอขอบคุณ
ข้อมูลจาก https://kidshealth.org/en/kids/special-needs.html
เพลงประกอบ “This is love, นี่แหละความรัก” จาก White music record, GMM GRAMMY
รูปจาก Facebook: https://www.facebook.com/whitemusicrecord/
https://www.facebook.com/yuwaprasart/
Twitter: @PFCvolunteer, @palitfanart, @Anne_Kerry, @sinejutha, @Paterynsiri
http://www.thaiticketmajor.com/peckphotobook
ภาพวาดประกอบบทความจาก:
น้องมะณอย นางสาว พิชญา เลิศทรัพย์เจริญ เด็กพิเศษที่มีอัจฉริยภาพด้านศิลปะ และเคยได้รับรางวัล SUPREME GOLD AWARD จากการประกวดภาพวาดในงาน นิทรรศการศิลปะ เด็กนานาชาติครั้งที่๓๖ ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=2103254549898564&id=2046289082261778
Dr. Windy
วันจันทร์ที่ 23 กรกฏาคม 2561 เวลา 15:00 น. —