7 สัญญาณเตือน ลูกน้อยมีความบกพร่องด้านการเขียน
การเรียนรู้บกพร่องด้านการเขียนพบได้บ่อยเช่นเดียวกับการเรียนรู้บกพร้องด้านการอ่านและคณิตศาสตร์
แต่ได้รับความสนใจน้อยกว่ามาก เนื่องจากมีความซับซ้อนทั้งในด้านสาเหตุ การวินิจฉัย และการรักษา
โดยอาการของเด็กที่มีการเรียนรู้บกพร่องด้านการเขียนแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ
1. สะกดคำบกพร่อง (dyslexic dysgraphia)
เด็กกลุ่มนี้มีปัญหาเขียนผิดหรือเขียนช้าเนื่องจากสะกดคำไม่คล่อง มักพบร่วมกับการเรียนรู้บกพร่องด้านการอ่าน (dyslexia)
2. มิติสัมพันธ์บกพร่อง (visuospatial dysgraphia)
เด็กกลุ่มนี้พบมีการเขียนตัวหนังสือขนาดไม่เหมาะสม การเว้นช่องไฟมากหรือน้อยเกินไป เขียนเกินบรรทัดเนื่องจากมีปัญหาด้านการประมาณขนาด ตำแหน่ง และระยะห่างของตัวอักษร
3. การเคลื่อนไหวมือบกพร่อง (motor dysgraphia)
มีปัญหาด้านการใช้กล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหวมือเพื่อเขียนทำให้เขียนยากลำบาก เขียนช้า
การเรียนรู้บกพร่องด้านการเขียนทั้ง 3 ประเภทแม้มีอาการแตกต่างกันแต่ล้วนส่งผลต่อชีวิตของเด็กในอนาคตได้
เราจึงควรให้ความสนใจเพื่อวินิจฉัยตั้งแต่ระยะแรก เพื่อให้การฝึกกระตุ้นและการสอนเหมาะสมทำให้ผลการเรียนและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้นได้
Infographic.นี้แสดง ข้อสังเกตว่าเด็กคนไหนอาจมีความบกพร่องด้านการเขียนรวมทั้งวิธีการฝึกเด็กเหล่านี้ให้เขียนคล่องขึ้นด้วย
ผศ.นพ.เทอดพงศ์ ทองศรีราช
วันจันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 8:00 น. —