ประมวลภาพงานประชุมวิชาการประจำปี 2568 ครั้งที่ 16

Pre-congress DBP conference ในหัวข้อเรื่อง "CBT Workshop"

วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
ณ ห้องประชุม 302 ชั้น 3 อาคารรัตนวิทยาพัฒน์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

และ

ABCD in Developmental and Behavioral Pediatrics

All for Healthy Children, Behavioral Problems, Child Developmental Problems

วันที่ 2-4 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
ณ ห้องประชุม พญาไท 1-3 โรงแรมอีสติน แกรนด์ พญาไท

Thai DBP Profile 2568
ความเป็นมา

สมาคมพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก

ได้จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 ได้ดำเนินการตามข้อบังคับของสมาคมพัฒนาและพฤติกรรมเด็ก โดยมี สำนักงานใหญ่อยู่ที่ อาคารทีปังกรรัศมีโชติ ร.พ.วชิรพยาบาล คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เลขที่ 681 ถนนสามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300 คณะกรรมการก่อตั้งสมาคม เป็นคณะกรรมการชุดเดิมจากชมรมพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก รุ่นที่ 6 โดยมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปี

สมาคมพัฒนาการและพฤติกรรมเด็กมีจุดเริ่มต้นมาจากชมรมพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก ที่ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 โดย รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิง นิตยา คชภักดี และดำรงตำแหน่งเป็นประธานชมรมท่านแรก การก่อตั้งในครั้งนั้นได้รวบรวมผู้ที่สนใจงานด้านพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกัน มีกิจกรรมที่ดำเนินการตามวิสัยทัศน์และพันธกิจของชมรม ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคมและประเทศชาติอย่างมากมาย

ปัจจุบันสมาคมพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก มีสมาชิกเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ ทั้งสมาชิกสามัญและวิสามัญอันประกอบด้วย กุมารแพทย์อนุสาขาพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก กุมารแพทย์ทั่วไป แพทย์ทั่วไป สหสาขาวิชาชีพ และผู้สนใจในงานด้านพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก และยังคงดำเนินกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ทางด้านวิชาการเพื่อประโยชน์ต่อสังคม สืบสานปณิธานการจัดตั้งชมรมพัฒนาการและพฤติกรรมเด็กของ รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิง นิตยา คชภักดี ต่อไป

วัตถุประสงค์การจัดตั้ง

สมาคมพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก

  • ทำงานร่วมกับเครือข่ายทางด้านพัฒนาการและพฤติกรรมเด็กภายในประเทศและนานาชาติ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพของเด็กที่เป็นปัจเจกบุคคล
  • ส่งเสริมและดำเนินกิจกรรมเพื่อเพิ่มพูนทักษะการปฏิบัติงานทางด้านพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก ให้กับบุคลากรที่เกี่ยวข้องและครอบครัว
  • ดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคม (CSR) ทางด้านพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกับชุมชน
  • ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมของสมาคม และคณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบเพื่อวุฒิบัตร กุมารเวชศาสตร์อนุสาขาพัฒนาการและพฤติกรรม
  • ไม่ดำเนินการเกี่ยวข้องกับการเมืองแต่อย่างใด
Thai DBP Profile 2568
วิสัยทัศน์ (Vision)

พัฒนาศักยภาพ พัฒนาการเด็กของประเทศไทยให้สู่ระดับสากล

พันธกิจ (Mission)

พัฒนาและแลกเปลี่ยนความรู้ และทักษะที่ทันสมัยในงานพัฒนาการเด็ก

และสร้างเครือข่ายระหว่างผู้ดูแลเด็กกับบุคลากรทางการแพทย์

ยุทธศาสตร์และยุทธวิธี
  • เผยแพร่ข้อมูลและองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการ การเจริญเติบโต และปัญหาทางพฤติกรรมของเด็ก
  • ให้ความรู้ด้านพัฒนาการและพฤติกรรมกับบุคลากรทางการแพทย์ ด้วยการจัดประชุมวิชาการ การฝึกอบรม บุคลากรผู้ทำงานทางด้านพัฒนาการและพฤติกรรมเด็กและประชาชนทั่วไป และสนับสนุนการฝึกอบรมกุมารแพทย์อนุสาขาพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก ของราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย
  • สร้างเครือข่ายผู้ดูแลเด็กกับบุคลากรทางการแพทย์ สร้างและถ่ายทอดองค์ความรู้ ความเข้าใจในการดูแลเด็กแต่ละช่วงวัย
ทำเนียบประธาน
ชมรมพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก
  • ๑. รศ.พญ. นิตยา คชภักดี
  • ๒. พญ. รัตโนทัย พลับรู้การ
  • ๓. ศ.พญ. นิชรา เรืองดารกานนท์
  • ๔. รศ.พญ. จันท์ฑิตา พฤกษานานนท์
  • ๕. พญ. นพวรรณ ศรีวงค์พานิช
  • ๖. รศ.นพ. พงษ์ศักดิ์ น้อยพยัคฆ์
Thai DBP Charman 2568 รศ.นพ. พงษ์ศักดิ์ น้อยพยัคฆ์
นายกสมาคมพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก
คณะกรรมการสมาคม
ชุดปัจจุบัน วาระ 2566-69
  • ที่ปรึกษา
  • ๑. พญ.รัตโนทัย พลับรู้การ ที่ปรึกษา
  • ๒. ศ.พญ.นิชรา เรืองดารกานนท์ ที่ปรึกษา
  • ๓. รศ.พญ.จันท์ฑิตา พฤกษานานนท์ ที่ปรึกษา
  • ๔. พญ.นพวรรณ ศรีวงค์พานิช ที่ปรึกษา
  • คณะกรรมการ
    ตำแหน่ง
  • 1. รศ.นพ.พงษ์ศักดิ์ น้อยพยัคฆ์ นายกสมาคม
  • 2. รศ.พญ.อดิศร์สุดา เฟื่องฟู อุปนายกสมาคม คนที่ 1
  • 3. รศ.พญ.บานชื่น เบญจสุวรรณเทพ อุปนายกสมาคม คนที่ 2
  • 4. ศ.นพ.วีระศักดิ์ ชลไชยะ กรรมการ (ประธานคณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม อนุสาขากุมารเวชศาสตร์พัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก)
  • 5. รศ.พญ.สุรีย์ลักษณ์ สุจริตพงศ์ กรรมการ ประธานอนุกรรมการด้านวิชาการ
  • 6. รศ.พญ.ทิพวรรณ หรรษคุณาชัย กรรมการ และประชาสัมพันธ์
  • 7. ผศ.พญ.รมร แย้มประทุม กรรมการ และเหรัญญิก
  • 8. นพ.คเณศ คณินวรพันธุ์ ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมการด้านเลขาธิการ
  • 9. ผศ.พญ.ดุษฎี เงินหลั่งทวี กรรมการ และเลขาธิการ
  • 10. พญ.ลีลารพิณ จงวัฒนสวัสดิ์ กรรมการ และปฏิคม
  • 11. พญ.รวยวรรณ สันติเวส กรรมการ และนายทะเบียน
  • 12. อ.สุทิน ชิ้นประเสริฐ ที่ปรึกษาสมาคม (ด้านการเงิน)

หมอพัฒนาการเด็ก คือ ใคร

หมอพัฒนาการเด็ก คือ กุมารแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขากุมารเวชศาสตร์พัฒนาการและพฤติกรรม

ซึ่งมีพื้นฐานมาจากการผ่านการฝึกอบรมเป็นหมอเด็กทั่วไป แล้วศึกษาต่อเพิ่มเติม เพื่อให้มีความชำนาญด้านพัฒนาการและพฤติกรรมของเด็กทุกช่วงวัย ซึ่งเกี่ยวข้องกับเด็กปกติและเด็กที่มีปัญหา พัฒนาการ พฤติกรรม และการเจริญเติบโตที่แตกต่างไปจากเด็กปกติทั่วไป โดยการดูแลเด็กในกลุ่มที่มีปัญหาด้านการเจริญเติบโตแตกต่างไปจากเด็กปกติ จะเป็นเด็กกลุ่มที่ไม่มีความผิดปกติเชิงระบบร่วมกับความเจ็บป่วยอื่น ส่วนเด็กกลุ่มที่มีปัญหาด้านการเจริญเติบโตที่มีความผิดปกติหรือความเจ็บป่วยร่วมกับโรคของระบบร่างกายอื่น อาจต้องรับการตรวจวินิจฉัยและดูแลรักษาร่วมกับกุมารแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญสาขาอื่น นอกจากหมอพัฒนาการเด็กมีบทบาทหลักในการดูแลรักษาเด็กทั้งในกลุ่มที่มีสุขภาพดี เพื่อการส่งเสริมป้องกัน แล้ว ยังให้การดูแลเด็กกลุ่มที่มีความผิดปกติซึ่งเป็นปัญหาพบบ่อยในทางคลินิก ได้แก่

• ปัญหาการเจริญเติบโต เช่น เด็กตัวเตี้ย (Short stature) จากสาเหตุต่าง ๆ ภาวะ น้ำหนักน้อย หรือโรคอ้วน เป็นต้น
• ปัญหาพัฒนาการ เช่น พูดช้า (Delayed speech) ปัญหาพัฒนาการทางภาษา (Developmental language disorder ) กลุ่มอาการออทิซึม (Autism spectrum disorder) ภาวะสมองพิการหรือความผิดปกติของการทำงานประสานกันของกล้าม เนื้อ (Cerebral palsy and motor coordination) พิการทางกาย เช่น การได้ยินผิดปกติและภาวะความบกพร่องทางสติปัญญา ความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น Down syndrome, Fragile X syndrome, Williams syndrome และ Prader Willi syndrome พัฒนาการในเด็กคลอดก่อนกำหนด ภาวะซน สมาธิสั้น ปัญหาการเรียน เด็กที่มีความเป็นเลิศทางปัญญา ภาวะปัสสาวะรดที่นอน ภาวะอุจจาระเล็ด เป็นต้น
• ปัญหาพฤติกรรมและการเลี้ยงดู เช่น การกิน การนอน การขับถ่าย การร้อง อาละวาด การร้องโคลิค ปัญหาพฤติกรรมอื่นๆ ปัญหาพฤติกรรมที่เกิดจากการขาดการฝึกวินัยในเด็ก เป็นต้น

ทำเนียบหมอพัฒนาการเด็ก
Dr Thai DBP 2568
ถาม-ตอบ

การพัฒนาการของเด็ก

แน่นอนว่าบางครั้งเด็กดูเหมือนสนใจ ยิ้ม หัวเราะ แต่หากเด็กดูวีซีดีอย่างเดียว โดยไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ใหญ่กับเด็ก ก็เปรียบเหมือนการสื่อสารทางเดียว เด็กไม่ได้เรียนรู้การสื่อสารออกไปหรือการตอบรับ ถ้ามากเข้าเด็กอาจเคยชินกับการอยู่กับตัวเอง ไม่ตอบสนองอารมณ์ ความรู้สึกของผุ้อื่น รวมถึงพัฒนาการทางภาษา การใช้ภาษาในชีวิตประจำวัน

เด็กแต่ละคนมีพัฒนาการไปในทิศทางเดียวกันและเป็นขั้นเป็นตอน หากแต่ช้าเร็วต่างกัน ขึ้นกับ ตัวเด็กเอง สิ่งแวดล้อมและการเลี้ยงดู การนำเด็กไปยังศูนย์ฝึกพัฒนาการเด็กทั้งหลาย สิ่งที่ต้องคำนึง คืออายุของเด็กด้วย หากเด็กยังเล็กแต่ไปเน้นกิจกรรมที่เกินความสามารถของวัยนั้น แทนที่จะเป็นการกระตุ้นให้เด็กพัฒนาได้เร็ว กลับเป็นการสร้างความกดดันกับเด็ก เกิดความเบื่อหน่ายมากกว่า พาลจะมีปัญหาทางด้านอารมณ์ และสังคมตามมา อย่างไรก็ตามถ้าพ่อแม่เล็งเห็นว่าอยู่ที่บ้านก็ไม่สะดวกในการเล่นกับเด็ก ไม่มีผู่ใหญ่คอยดูแล เล่นด้วย การไปตามศุนย์ฝึกพ่อแม่ก็อาจ ได้รับคำแนะนำดีๆในการเล่นกับเด็กได้ เพราะสุดท้ายคนที่จะฝึกเด็กและเล่นกับเด็กได้สนุกจริงๆคือ พ่อแม่

ก่อนอื่นต้องเข้าใจพัฒนาการของเด็กวัย 3 เดือน คือเริ่มสนใจหน้าคนและจำแม่ได้, มองเวลาคุยด้วย และหันหาเสียง,รู้จักสิ่งที่คุ้นเคย, ปัดป่ายคว้าของแต่ยังไม่ถูกดี, กำของได้,นอนคว่ำยกคอได้ ของเล่นที่เหมาะ กับพัฒนาการ ได้แก่ โมบายล์, ตุ๊กตานุ่มๆ, กระจกเด็กเล่น, กรุ๋งกริ๋ง หรือของเล่นที่เขย่ามีเสียงได้ เป็นต้น

พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อของเด็กที่เป็นสากล คือ พัฒนาจากศีรษะจดเท้า จากกลางตัวออกไปสู่ส่วนปลาย แต่ความช้าเร็วของพัฒนาการ แตกต่างกัน ซึ่งในกรณีนี้อาจมี 2 สาเหตุ ได้แก่ เด็กไม่ยอมคลานเองซึ่งมีบ้างที่เด็กบางคนจากนั่งทรงตัวเองได้ ก็เกาะยืนและเดินได้ โดยไม่ยอมคลาน ซึ่งไม่ถือว่าผิดปกติแต่อย่างใด ลองดูว่าคุณอุ้มเขามากไปหรือไม่ทำให้เด็กไม่ต้องใชความพยายามใดๆ หรือ เด็กไม่สามารถทำได้จริงๆพ่อแม่อาจดู พัฒนาการด้านกล้ามเนื้ออื่นๆว่าอยู่ระดับไหน เช่น การพลิกคว่ำหงาย การนั่งทรงตัวได้เอง หรืออาจลองวางของเล่นไว้ใกล้พอที่เด็กจะเขยิบตัวมาเอาได้ ถ้าเด็กดูหงุดหงิดมากและดูเหมือนทำไม่ได้เลย อาจต้องปรึกษากุมารแพทย์

การจะฝึกทักษะในการให้เด็กไม่ขี้อายหรือคุ้นเคยกับคนอื่นๆมีหลายวิธี เช่น เริ่มต้นให้เด็กเข้าสังคมของนสนิท ญาติพี่น้องกลุ่มเล็กๆก่อน ไม่ต้องดุว่าถ้าเด็กแสดงท่าทีเขินอาย นอกจากนั้นพ่อแม่และครูอาจต้องยอมรับในความแตกต่างของเด็กแต่ละคน มองความขี้อายในทางบวก เช่น เกรงใจคนหรือเป็นคนระมัดระวังตัว เป็นต้น เด็กบางคนก็ต้องการเวลาในการทำความคุ้นเคยกับสถานที่หรือบุคคลที่แปลกใหม่

อยากให้คุณแม่ลองพิจารณาสถานการณืเหล่านี้ในบ้านนะค่ะ เช่น มีใครคนใดคนหนึ่งได้รับความสนใจมากเป็นพิเศษหรือไม่ มีการบังคับ ให้พี่ต้องแบ่งให้น้องตลอดเวลาหรือไม่ คุณแม่ควรลองมานั่งคุยกับเด็ฏทั้ง 2 ในช่วงเวลาที่สงบ ไม่มีความโกรธอยู่ว่าจะเล่นกันอย่างไรดี ถ้าเราถูกแย่งของเล่นเราจะรู้สึกอย่างไร ดูว่าเด็กจะตอบว่าอย่างไร คุณแม่เองก็ไม่ควรตัดสินว่าใครผิดถูก ควรให้เด็กทั้งสองคนรับผลของการกระทำ ของตนเองทั้งคู่

Once you enroll in a course, you'll have unlimited access to the course materials for as long as the course is available on our platform.

แนะนำหนังสือ

นิทาน ที่มากกว่านิทาน

หนังสือนิทาน "ผจญภัยในป่าฮาลาบาลา" เป็นนิทานที่พัฒนาขึ้นโดย ผศ.นพ.เทอดพงศ์ ทองศรีราช คณะแพทยศาสตร์ ม.สงขลานคริทร์ นอกจากเนื้อเรื่องจะสนุกสนานแล้ว ยังสามารถใช้ประเมินทักษะพื้นฐานด้านการอ่านของเด็กผ่านทางกิจกรรมในเล่ม นิทานเล่มนี้เหมาะกับเด็ก 4-6 ปี ก่อนเล่าแนะนะให้พ่อแม่อ่านคำแนะนำการใช้ท้ายเล่มเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดนะครับ

บทความวิชาการ

เพื่อประชาชน

การสแกนลายนิ้วมือเพื่อค้นหาศักยภาพในตัวเด็ก

ได้ถูกนำมาใช้และเป็นที่นิยมในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา เพื่อหวังว่าจะค้นหาศักยภาพที่เป็นจุดเด่น หรือพรสวรรค์ในตัวเด็ก รวมถึงค้นหาจุดด้อยเพื่อหวังที่จะวางแผนพัฒนาและปกปิดจุดด้อยนั้น...

รศ.พญ.จริยา จุฑาภิสิทธิ์, อ.พญ.พร ไตรรัตน์วรกุล
เพิ่มเติม
7 สัญญาณเตือน ลูกน้อยมีความบกพร่องด้านการเขียน

การเรียนรู้บกพร่องด้านการเขียนพบได้บ่อยเช่นเดียวกับการเรียนรู้บกพร้องด้านการอ่านและคณิตศาสตร์ แต่ได้รับความสนใจน้อยกว่ามาก เนื่องจากมีความซับซ้อนทั้งในด้านสาเหตุ การวินิจฉัย และการรักษา...

ผศ.นพ.เทอดพงศ์ ทองศรีราช
เพิ่มเติม
เกณฑ์พัฒนาการตามช่วงวัยของเด็กปฐมวัย

จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นเกณฑ์อ้างอิงเบื้องต้นสำหรับเด็กทั่วไป ว่าเด็กสามารถทำอะไรได้ในแต่ละช่วงวัย ซึ่งยังอาจมีทักษะบางอย่างที่เด็กปกติจำนวนหนึ่งทำได้เร็วหรือช้ากว่าเกณฑ์นี้เล็กน้อย...

คณะกรรมการฝึกอบรมและสอบ อนุสาขาพัฒนาการและพฤติกรรม
เพิ่มเติม
เด็กถูกทำร้าย ผลต่อจิตใจ

จากการศึกษาในต่างประเทศ พบแล้วว่า การที่เด็กเล็กถูกทารุณกรรม ไม่ว่าจะทางกายหรือจิตใจ ย่อมส่งผลต่อการพัฒนาทั้งส่วนโครงสร้างและการทำงานของสมอง เด็กหลายรายต้องกลายเป็น...

พญ.สินดี จำเริญนุสิต
เพิ่มเติม
ประมวลภาพงานประชุมวิชาการประจำปี 2567 ครั้งที่ 15

Smart Smiles and Strong Children for a Sustainable Future

วันที่ 10 - 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2567
ณ ห้องประชุม สุรศักดิ์ 1 และ 2 โรงแรมอีสติน แกรนด์ สาทร